วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 4,048 view

แผนอพยพเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง

 

1. ข้อมูลพื้นฐาน

     1.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเขตฯ กว่างซี

          - เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (广西壮族自治区) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เป็น 1 ใน 5 เขตการปกครองตนเองของจีน (ที่มีฐานะเทียบเท่ามณฑล) มีพื้นที่ 236,660 ตร.กม. มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของจีน ซึ่งเป็นมณฑลเดียวทางภาคตะวันตกของจีนที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล

          - ทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับมณฑลกุ้ยโจว ทิศตะวันออกเฉียง เหนือติดกับมณฑลหูหนาน ทิศตะวันออกติดกับมณฑลกวางตุ้ง ทิศตะวันตกติดกับมณฑลยูนนาน ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศเวียดนาม (ชายแดนทางบกระหว่างกว่างซีกับเวียดนามยาว 1,020 กม.) และทิศใต้ติดกับอ่าวเป่ยปู้หรืออ่าวตังเกี๋ย

          -  เขตฯ กว่างซีมีประชากร 56 ล้านคน ( ปี 2560)  ประกอบด้วย 12 ชนชาติ ได้แก่ ฮั่น จ้วง เย้า แม้ว ต้ง  เหมาหนาน หุย จิง อี๋ สุ่ย เกอหล่าว และมู่หล่าว โดยชนกลุ่มน้อยชนชาติ "จ้วง" มีจำนวนมากที่สุด

          - การปกครอง 14 เมือง โดยมี "นครหนานหนิง" เป็นเมืองเอก มีประชากรราว  7 ล้านคน และเมืองชั้นรองสำคัญ ได้แก่ เมืองหลิ่วโจว และเมืองกุ้ยหลิน

        

          - ระบบคมนาคมขนส่งที่สำคัญของเขตฯ กว่างซี มีดังนี้

ท่าอากาศยานนานาชาติ

(บินไป-กลับไทย)

(1)  ท่าอากาศนานาชาติอู๋ซวีนครหนานหนิง

(Nanning Wuxu International Airport)

China Southern / Beibu Gulf Airlines /Sichuan Airlines /  NewGen Airways / AirAsia / NOK AIR

(2) ท่าอากาศนานาชาติเหลี่ยงเจียงเมืองกุ้ยหลิน

(Guilin Liangjiang International Airport)

China Southern

(3) ท่าอากาศยานฝูเฉิงเมืองเป๋ยไห่

(Beihai Fucheng Airport)

Spring Airlines

รถไฟ

(1) รถไฟความเร็วสูง

(สถานี Hub ได้แก่ สถานีรถไฟหนานหนิง / สถานีรถไฟตะวันตกหนานหนิง / สถานีรถไฟกุ้ยหลิน)

- ภายในมณฑล ยกเว้นเมืองเหอฉือ และเมืองฉงจั่ว

- นอกมณฑล ไปยังหัวเมืองสำคัญทั่วประเทศ

(2) รถไฟธรรมดา

 

(3) รถไฟข้ามประเทศ

(ใช้เวลาเดินทาง 8 ชั่วโมง)

กรุงปักกิ่ง - นครหนานหนิง - กรุงฮานอย (สถานี Gia Lam)

ท่าเรือน้ำลึก (ทะเล)

(1) ท่าเรือชินโจว (สินค้า)

ห่างจากนครหนานหนิง 110 กม.

(2) ท่าเรือฝางเฉิงก่าง (สินค้า)

ห่างจากนครหนานหนิง 200 กิโลเมตร

(3) ท่าเรือเป๋ยไห่ (สินค้าและท่องเที่ยว)

ห่างจากนครหนานหนิง 230 กิโลเมตร

 

     1.2 จำนวนคนไทย คนไทยที่พำนักอาศัยอยู่ในเขตฯ กว่างซีจ้วงมี 2 ประเภท คือ

              - ผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ระยะยาว ส่วนใหญ่เป็นภาคเอกชนไทยที่ลงทุนในกว่างซี (เครือ CP / น้ำตาลมิตรผล และ SCG) พ่อครัวแม่ครัวตามร้านอาหารไทย อาจารย์ และนักศึกษาไทยที่เรียนเต็มหลักสูตรตามมหาวิทยาลัยต่างๆ

              - ผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่มาตามโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างสถาบันการศึกษาไทยกับกว่างซี

              - สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้จัดทำรายชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อคนไทยที่พักอาศัยระยะยาว และทำการปรับปรุงรายชื่อเป็นระยะ ผู้ที่พำนักอาศัยระยะสั้นสามารถติดต่อกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

 

2. สถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น

      2.1 ความไม่สงบที่เกิดจากการจลาจล / การก่อการร้ายวิกฤติการณ์ทางการเมือง /สงคราม โดยอาจเป็นภัยจาก สถานการณ์จีน-ไต้หวัน สถานการณ์จีน-ญี่ปุ่น สถานการณ์จีน-เวียดนาม สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี

       2.2 สถานการณ์ที่เกิดจากภัยพิบัติ / โรคระบาด อาจเกิดการแพร่ระบาดโรค SARs / ไข้หวัดนก / ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ไหม่

 3. ขั้นตอนการเตรียมการแผนอพยพ

     3.1 การเตรียมพร้อมเบื้องต้นอย่างสม่ำเสมอ (ก่อนเกิดสถานการณ์ใดๆ)

          - สำรวจ/จัดทำ/ปรับปรุงข้อมูลรายชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ติดต่อของบุคคลในหน่วยงานต่างๆ เช่น

             (1) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง

             (2) ทีมประเทศไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตฯ สถานกงสุลใหญ่ไทยในจีน

             (3) ภาคเอกชนไทย  บริษัทไทยและบริษัทจีนที่มีคนไทยทำงานกว่างซี

             (4) ชุมชนไทย นักเรียนไทยในกว่างซี 

             (5) สำนักงานการต่างประเทศเขตฯ กว่างซีจ้วง และของเมืองสำคัญที่คนไทยพำนักอาศัยอยู่

             (6) คณะกงสุลต่างประเทศในนครหนานหนิง ประกอบด้วย สถานกงสุลใหญ่เวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และมาเลเซีย

             (7) สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในกว่างซี  /  โรงพยาบาลสำคัญในกว่างซี  / บริษัทท่องเที่ยว (เพื่อตรวจสอบเรื่องการตกค้างของนักท่องเที่ยวไทย)

             (8) ท่าอากาศยาน (กรณีขอจอดเครื่องบิน) / ท่าเรือ (กรณีขอที่จอดเรือ) / สถานีรถไฟ / สถานีรถโดยสาร

             (9) กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย

          - สำรวจ / จัดทำ / ปรับปรุงข้อมูลทรัพย์สิน ครุภัณฑ์ เอกสารราชการ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามลำดับความสำคัญ เพื่อความสะดวกต่อการจัดเก็บ/ขนย้ายในกรณีฉุกเฉิน

          - กำหนดความสำคัญของทรัพย์สิน ชั้นความลับของเอกสารราชการที่จำเป็นจะต้องเก็บรักษาไว้ในที่มั่นคงปลอดภัยเพียงพอ (จากการจารกรรมและภัยธรรมชาติ) เพื่อป้องกันการสูญหายหรือถูกทำลาย

          - กำหนดครุภัณฑ์และเอกสารสำคัญที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบจะต้องนำติดตัวไปด้วย ในกรณีที่ต้องอพยพ

          - สำรวจสภาพ และบริเวณโดยรอบสถานกงสุลใหญ่ฯ ว่ามีความมั่นคงปลอดภัยเพียงพอหรือไม่

          - แจ้งรายละเอียด หรือจัดประชุมเป็นระยะๆ เพื่อทราบรายละเอียดของแผนอพยพ วิธีการและขั้นตอนอพยพ ระหว่างสถานกงสุลใหญ่ฯ ซึ่งมีกงสุลใหญ่ฯ เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการกรณีฉุกเฉิน กับนักธุรกิจ คนไทย และประธานนักศึกษาไทยประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางติดต่อคนไทย/นักเรียน นักศึกษาไทย รวมทั้งเพื่อประเมินสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ตลอดจนมอบหมายงาน / วางแผนการดำเนินการต่าง ๆ   

     3.2 การดำเนินการอพยพ  (เมื่อเกิดเหตุการณ์ หรืออยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์) สถานกงสุลใหญ่ฯ ดำเนินการดังนี้

          - ประเมินสถานการณ์ และวางแผนอพยพคนไทยในจุดต่างๆ ซึ่งการอพยพอาจแบ่งระดับได้เป็น (1) การแจ้งให้รวมตัว ณ จุดที่กำหนดในท้องถิ่นนั้นๆ (2) การเคลื่อนย้ายจากเมืองต่างๆ มารวมตัวกัน ณ จุดเดียว ตามแต่สถานกงสุลใหญ่ฯ กำหนด

          - มอบหมายนักธุรกิจไทย คนไทย และประธานนักศึกษาไทยประจำสถาบันต่างๆ เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการ โดยให้ประสานงานกับสถานกงสุลใหญ่ฯ อย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามแผนการอพยพตามที่สถานกงสุลใหญ่ฯ กำหนด ทั้งนี้ ให้คนไทยติดตามข่าวสารผ่านเว็บไซต์ของสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้อีกทางหนึ่ง ที่ www.thaiembassy.org/nanning และเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/thaiconsulatenanning/

          - ประสานกระทรวงการต่างประเทศของไทย และหน่วยงานท้องถิ่นจีน (ผ่านสำนักงานการต่างประเทศเขตฯ กว่างซีจ้วง) เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยเหลือการดำเนินการตามแผนอพยพ

          - เตรียมความพร้อมสถานที่ที่อาจจำเป็นต้องใช้เป็นศูนย์รวมคนไทยจากจุดต่างๆ ไว้ที่จุดเดียว เช่น ที่ทำการสถานกงสุลใหญ่ฯ เป็นต้น

          - เตรียมความพร้อมด้านการขนส่ง/คมนาคม/เสบียงอาหาร/เครื่องนอน/ยารักษาโรค/อุปกรณ์ทางการแพทย์  

 

 แผนช่วยเหลือ / อพยพคนไทย

กรณีเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง / เกิดสงคราม

 

 

การเตรียมความพร้อม 4 ระดับ

1. ระดับ 1 (สีเขียว) การเตรียมความพร้อมในสภาวะปกติ

  • ปัจจัยบ่งชี้       สถานการณ์ปกติ
  • ปัจจัยควบคุม     สถานการณ์ปกติ
  • เป้าหมาย         เตรียมความพร้อมของ สกญ. และผู้เกี่ยวข้อง

การดำเนินการ

          1.1 ปรับปรุงทะเบียนรายชื่อคนไทย / ที่อยู่ติดต่อ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

          1.2 ปรับปรุงรายชื่อสถานที่ติดต่อสำคัญ ๆ ได้แก่ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีนักศึกษาไทย หน่วยงานของเขตฯ กว่างซี  โรงพยาบาล ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีรถโดยสาร สายการบิน  สถานีตำรวจ จัดตั้งเครือข่ายติดต่อกับคนไทย เช่น ผ่านบริษัทไทย กลุ่มนักศึกษาไทย

          1.3 กำหนดจุดรวมตัวที่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง ตั้งอยู่ที่ ชั้น 1-2 อาคาร Orient Manhattan เลขที่ 52-1 ถนนจิ่นหู นครหนานหนิง 530022

          1.4 จัดทำเส้นทางเดินทางกรณีอพยพทางเครื่องบิน

               (1) ขึ้นเครื่องบินที่สนามบินอู๋ซวีนครหนานหนิง

สายการบิน

เที่ยวบิน

เวลาขึ้นบิน

ใช้เวลา

วันที่ให้บริการ

China Southern

(KWL-NNG – BKK)

CZ6099/8311

10.35 น. – 12.00 น.

2 ชม. 25 นาที

ทุกวัน

CZ8427

17.00 น. – 18.20 น.

2 ชม. 20 นาที

*เริ่มให้บริการ 31 มี.ค.62*

Beibu Gulf Airlines

(NNG – BKK)

GX8907

18:50 น. – 20:15 น.

2 ชม. 35 นาที

ทุกวัน

Sichuan Airlines

(NNG – BKK)

3U8453

18.05 น. – 19.15 น.

2 ชม. 10 นาที

อ. / พฤ. / ส.

Nok Air

(NNG – DMK)

DD3111

13.25 น. – 15.05 น.

2 ชม. 20 นาที

จ. / พ. / ศ. / อ.

NewGen Airways

(NNG – DMK)

E3 856

12:50 น. – 14:10 น.

2 ชม. 20 นาที

เช่าเหมาลำ (ปล่อยตั๋ว)

*เวลาเปลี่ยนแปลงบ่อย*

E3 856

20:30 น. – 21:50 น.

2 ชม. 30 นาที

AirAsia

(NNG – UTP)

FD304

14:05 น. – 15:30 น.

2 ชม. 25 นาที

พ. /ศ. / อ.

Spring Airline

(BHY – BKK)

9C8741

22.30 น. – 00.00 น.

2 ชม. 30 นาที

จ. / พ.

 

               (2) ในขณะที่กรณีตามข้างต้นยังไม่สามารถดำเนินการได้ต้องเดินทางไปยังสนามบินใกล้เคียง เช่น เมืองเป๋ยไห่ที่มีเที่ยวบินไปประเทศไทย หรือเดินทางจากสนามบินนครหนานหนิงเพื่อขึ้นเครื่องภายในประเทศไปยังนครกว่างโจว นครคุนหมิง เมืองฮ่องกง เพื่อต่อเครื่องบินของการบินไทยหรือการบินจีนที่บินตรงไปยังกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ต้องตรวจสอบตารางเที่ยวบินภายในประเทศเป็นระยะ ๆ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย

          1.5 จัดทำเส้นทางเดินทางกรณีอพยพทางรถยนต์เพื่อออกไปทางเวียดนามสู่กรุงฮานอยเพื่อขึ้นเครื่องบินกลับไทย หรือใช้เส้นทางรถยนต์สาย R9 (กว่างซี-เวียดนาม-ลาว (สะหวันนะเขต)-ไทย (มุกดาหาร) ) หรือ R12 ที่เข้าไทยทางนครพนม หรือเส้นทางที่ผ่านนครหลวงเวียงจันทน์ และเข้าไทยที่หนองคาย (กรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นมิใช่สถานการณ์ระหว่างจีน-เวียดนาม)

          1.6 จัดทำเส้นทางเดินทางกรณีอพยพทางรถไฟไปทางเวียดนามสู่กรุงฮานอย (สถานี Gia Lam) เพื่อขึ้นเครื่องบินกลับไทย หรือใช้เส้นทางรถยนต์สาย R9 (กว่างซี-เวียดนาม-ลาว (สะหวันนะเขต)-ไทย (มุกดาหาร) ) หรือ R12 ที่เข้าไทยทางนครพนม หรือเส้นทางที่ผ่านนครหลวงเวียงจันทน์ และเข้าไทยที่หนองคาย  (กรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นมิใช่สถานการณ์ระหว่างจีน-เวียดนาม)

          1.7 จัดทำเส้นทางเดินทางกรณีอพยพทางเรือ โดยเดินทางจากนครหนานหนิงไปยังท่าเรือน้ำลึก 1 ใน 3 แห่ง (ชินโจว ฝางเฉิงก่าง และเป๋ยไห่) และให้เรือพิเศษของไทยมารับคนไทย

          1.8 ประชาสัมพันธ์สรุปแผนอพยพให้ชุมชนไทยทราบและนำสรุปแผนขึ้นเว็บไซต์ของ สกญ. พร้อมหมายเลขโทรศัพท์หรือ E-mail Address ที่ประชาชนติดต่อได้

          1.9 ตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารให้ใช้ได้ดีเสมอ เบอร์ติดต่อกรณีฉุกเฉิน (+86) 153 0781 3559

          1.10 สำรวจ / จัดทำ / ปรับปรุงข้อมูลทรัพย์สิน ครุภัณฑ์ เอกสารราชการ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามลำดับความสำคัญ เพื่อความสะดวกต่อการจัดเก็บ / ขนย้ายในกรณีฉุกเฉิน

 

2. ระดับ 2 ( สีเหลือง) การเตรียมความพร้อม เมื่อมีสิ่งบอกเหตุ

  • ปัจจัยบ่งชี้          เริ่มมีข่าวความไม่สงบ ข้อพิพาท หรือการปะทะในพื้นที่หรือภูมิภาค
  • ปัจจัยควบคุม      รัฐบาลท้องถิ่นยังควบคุมสถานการณ์ได้ การดำเนินชีวิตเป็นไปตามปกติ
  • เป้าหมาย            คนไทยรับทราบสถานการณ์ รับทราบจุดติดต่อ เตรียมพร้อมเดินทางออกนอกประเทศ  ประกาศเตือนคนไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปเขตฯ กว่างซีจ้ว

การดำเนินการ

          2.1 ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

          2.2 เร่งประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนไทยทราบถึงแผนอพยพของ สกญ. และเตรียมพร้อมซักซ้อมการสื่อสารกับเครือข่ายไทยที่กำหนด

          2.3 แจกแจงรายละเอียดขั้นตอนของแผนอพพยโดยนำขึ้นเว็บไซต์ของ สกญ. และเฟซบุ๊คของ สกญ.

          2.4 แจ้งให้คนไทยในพื้นที่เตรียมเอกสารเดินทางให้พร้อมหากต้องอพยพออกนอกประเทศ

          2.5 เตรียมจัดให้มีโทรศัพท์สายด่วน (Hotline) เพื่อให้ข้อมูลแก่คนไทยที่ต้องการสอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์ และคำแนะนำเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ

          2.6 ซักซ้อมมาตรการรักษาความปลอดภัยในบริเวณ สกญ.

          2.7 แจ้งผ่านกระทรวงฯ เตือนคนไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าประเทศ

 

3. ระดับ 3 (สีแสด) กรณีเกิดความไม่สงบในประเทศ เริ่มส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย

  • ปัจจัยบ่งชี้          เกิดความไม่สงบเป็นระยะ มีการปะทะระหว่างกลุ่มต่าง ๆ มีแนวโน้มขยายตัวเป็นวงกว้าง
  • ปัจจัยควบคุม     รัฐบาลท้องถิ่นกำลังสูญเสียการควบคุม การดำรงชีวิตไม่เป็นปกติ บริการภาครัฐมีจำกัดแต่การคมนาคมเชิงพาณิชย์ยังเปิดดำเนินการ อาจเริ่มลดเที่ยวบิน
  • เป้าหมาย         ให้คนไทยที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ในเขตฯ กว่างซี เดินทางออกนอกพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะ เด็ก สตรี และคนชรา

การดำเนินการ

          3.1 ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ประเมินสถานการณ์จากข่าวสาร และหารือกับ สกญ.ประเทศอื่น ๆ

          3.2 ประสานทางการกว่างซี เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่ รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานีตำรวจ โรงพยาบาล

          3.3 หารือ สกญ. อื่นเกี่ยวกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือคนชาติตน

          3.4 จัดเตรียมน้ำ อาหาร ยารักษาโรค และสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพขั้นพื้นฐาน

          3.5 ตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือคนไทย และประชาสัมพันธ์เรื่องสถานการณ์ภายในประเทศที่ตั้งอยู่ให้ชุมชนไทยและผู้ประสานงานชุมชนไทยทราบทุกระยะ รวมทั้งจัดให้มีโทรศัพท์สายด่วน (Hotline) เพื่อให้ข้อมูลแก่คนไทยและรับแจ้งข้อมูลต่าง ๆ

          3.6 สกญ. สำรองเงินสดในมือกรณีฉุกเฉิน

          3.7 สกญ. สำรองอาหาร / เวชภัณฑ์ / สิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้เพียงพอกับจำนวนคนไทยที่อาจจำเป็นต้องพำนักชั่วคราวใน สกญ.

          3.8 แจ้งคนไทยในพื้นที่ให้เดินทางออกนอกพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะ เด็ก สตรี และคนชรา โดยผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ รวมทั้งเครือข่ายคนไทยที่กำหนดไว้

          3.9 แจ้งเตือนคนไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่

          3.10 ประสานการบินต่าง ๆ เพื่อสำรองที่นั่งให้แก่คนไทย

          3.11 กำหนดแผนอพยพคนไทย (โดยแจ้ง / หารือกระทรวงฯ ว่า มีคนไทยเหลืออยู่จำนวนเท่าใด จะอพยพคนไทยที่เหลือกลับประเทศไทย โดยวิธีใดบ้าง ต้องใช้เครื่องบินพิเศษ / เรือพิเศษไปรับคนไทยหรือไม่)

          3.12 เตรียมออกเอกสารในการเดินทางชั่วคราว (C.I.) แทนหนังสือเดินทางแก่คนไทยในกรณีหนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกทำลาย

          3.13 ประสานรัฐบาลกว่างซี เพื่อซักซ้อมกรณีต้องอพยพ

 

4. ระดับ 4 (สีแดง) กรณีเกิดความไม่สงบ ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้พำนักในประเทศจนถึงขั้นอพยพคนไทยออกนอกประเทศ

  • ปัจจัยบ่งชี้          เกิดความไม่สงบรุนแรงต่อเนื่อง เกิดความขาดแคลนอาหารและสาธารณูปโภค มีการปล้นสะดม ไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
  • ปัจจัยควบคุม     รัฐบาลท้องถิ่นควบคุมสถานการณ์ได้ในวงจำกัด มีแนวโน้มว่าจะเกิดสงครามในระยะเวลาอันใกล้ สายการบินพาณิชย์ให้บริการในวงจำกัด หรือยกเลิกทำการบิน
  • เป้าหมาย           อพยพคนไทยที่เหลืออยู่ออกนอกพื้นที่ ปิดที่ทำการ สกญ. ชั่วคราว

การดำเนินการ

          4.1 ตั้งศูนย์อพยพคนไทยที่ สกญ. และประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนไทยทราบตลอดเวลารวมทั้งจัดให้มีโทรศัพท์สายด่วน (hotline) เพื่อแจ้งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งแผนการอพยพ

          4.2 ให้คนไทยที่สามารถเดินทางได้เอง เดินทางออกนอกพื้นที่ในทันที

          4.3 แจ้งหน่วยงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการอพยพคนไทยและขอรับการสนับสนุนตามแผนอพยพโดยเฉพาะ

          4.4 การรักษาความปลอดภัย สกญ. และระหว่างอพยพคนไทย

          4.5 ประสานกับ สกญ. อื่น ๆ เกี่ยวกับแผนอพยพและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          4.6 ออกเอกสารในการเดินทางชั่วคราว (C.I.) แทนหนังสือเดินทางแก่คนไทยในกรณีหนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกทำลาย

          4.7 เตรียมขนย้ายเอกสารสำคัญทางราชการหรือทำลาย (เมื่อกระทรวงฯ เห็นชอบ)

          4.8 เนื่องจากกว่างซีอยู่ไม่ไกลจากประเทศไทย  หากมีปัญหาการคมนาคมทางอากาศ การอพยพผ่านประเทศที่สาม (เวียดนาม และลาว) โดยทางรถยนต์ก็เป็นอีกทางเลือกในการอพยพคนไทยที่เหลือกลับประเทศไทยโดยทางอากาศ ทางบก และทางทะเล

          4.9 ทางอากาศ ต้องเดินทางออกที่  Wuxu International Airport ที่นครหนานหนิง โดยเครื่องบินพาณิชย์ที่ยังเปิดบริการอยู่ และเครื่องบินพิเศษจากไทย

            *** กรณีเครื่องบินพาณิชย์ยังเปิดบริการอยู่***

               -- ประสานกับสายการบินต่าง ๆ ที่ทำการบินระหว่างหนานหนิง-กรุงเทพฯ เช่น China Southern, AirAsia, NOK AIR, NewGen Airways หรือสายการบินในประเทศจีนรายอื่นในเส้นทางหนานหนิง-กว่างโจว / หนานหนิง-คุนหมิง เช่น Air China, Hainan Airlines, China Eastern ให้เพิ่มเที่ยวบินหากจำเป็น

               -- ประสานบริษัทการบินไทยให้เพิ่มเที่ยวบินจากกว่างโจว / คุนหมิงกลับไทย

               -- ประสานกับสกญ. ณ นครกว่างโจว / ณ นครคุนหมิง ให้ช่วยดูแลคนไทยที่จะเดินทางผ่านเมืองทั้งสอง

               -- ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่ประสงค์จะอพยพกลับประเทศไทยทราบ เกี่ยวกับตารางเที่ยวบิน และค่าใช้จ่าย

               -- ช่วยเหลือคนไทยที่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย โดยให้ยืมเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ รวมทั้งแจ้งกระทรวงฯ หากต้องการงบประมาณเพิ่ม

               -- หากระบบขนส่งมวลชนใช้การไม่ได้ สกญ.จะจัดยานพาหนะ หรือ ติดต่อบริษัทเช่ายานพาหนะรับคนไทยที่จุดรวมตัวไปยังสนามบิน โดยจุดรวมตัว คือ สกญ.

               -- ประสานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่นในการอำนวยความสะดวกแก่คนไทย

               -- รายงานกระทรวงฯ เกี่ยวกับรายชื่อคนไทยที่อพยพ

 

            *** กรณีใช้เครื่องบินพิเศษจากไทย***

               -- แจ้งกระทรวงฯ และขอความร่วมมือจากหน่วยงานทหารของไทยจัดส่งเครื่องบินพิเศษให้เพียงพอที่จะรับคนไทย

               -- ประสาน สอท.ปักกิ่ง เพื่อขอ Flight Clearance จากทางการจีน

               -- ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทราบเกี่ยวกับเที่ยวบินพิเศษ และให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ  สกญ.จะจัดยานพาหนะ หรือติดต่อบริษัทเช่า ยานพาหนะรับคนไทยที่จุดรวมตัวไปยังสนามบิน

               -- ประสานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่นในการอำนวยความสะดวกแก่คนไทย

               -- รายงานกระทรวงฯ เกี่ยวกับรายชื่อคนไทยที่อพยพ

 

          4.10 ทางบก (รถยนต์และรถไฟ) ออกไปทางเวียดนามสู่กรุงฮานอยเพื่อขึ้นเครื่องบินกลับไทย หรือใช้เส้นทางรถยนต์สาย R9 (เข้าทางมุกดาหาร) หรือ R12 (เข้าทางนครพนม)

             - ประสาน สกญ. เวียดนามประจำกว่างซี ในการอำนวยความสะดวก  ประสาน สอท. ณ กรุงฮานอย ในการอำนวยความสะดวกในเวียดนาม ประสาน สกญ. ณ แขวงสะหวันนะเขต ในการอำนวยความสะดวกช่วงลาว (สะหวันนะเขต)

          4.11 ทางน้ำ  (ในกรณีการอพยพโดยวิธีการอื่น ไม่สามารถดำเนินการได้)

             - ประสานกระทรวงฯ ขอให้ส่งเรือรบจากไทยเพื่อมารับคนไทย ซึ่งการเดินทางจากกว่างซีไปยังกรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 3 วัน

             - ประสานสอท.ปักกิ่ง หน่วยงานจีนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้อนุญาตนำเรือรบไทยเข้าน่านน้ำจีน

             - ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทราบเกี่ยวกับการอพยพทางเรือ และให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ  สกญ.จะจัดยานพาหนะ หรือติดต่อบริษัทเช่า ยานพาหนะรับคนไทยที่จุดรวมตัวไปยังท่าเรือ

             - ประสานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่นในการอำนวยความสะดวกแก่คนไทย รายงานกระทรวงฯ เกี่ยวกับรายชื่อคนไทยที่อพยพ

 

 

แผนช่วยเหลือ /อพยพคนไทย

กรณีภัยโรคระบาดรุนแรง

 

 

  • ปัจจัยบ่งชี้       เริ่มเกิดโรคระบาดรุนแรงในพื้นที่
  • ปัจจัยควบคุม     รัฐบาลท้องถิ่นให้ความร่วมมือเต็มที่ อาจมีการประกาศสภาวะฉุกเฉิน
  • เป้าหมาย         อพยพคนไทยออกนอกพื้นที่โรคระบาด ไปยังที่พักพิงชั่วคราว หรือกลับประเทศไทย

การดำเนินการ

          1. ตั้งศูนย์ประสานงาน เพื่อติดต่อกับกระทรวงฯ และรับแจ้งจากคนไทยในพื้นที่

          2. ประกาศเตือนให้คนไทยเดินทางออกนอกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สามารถเดินทางไปพำนักกับเพื่อน / ญาติต่างเมือง หรือให้เดินทางกลับประเทศไทย (ในขณะที่ทางการท้องถิ่นยังอนุญาตให้เดินทางออกนอกพื้นที่ได้)

          3. ประสานกับรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อขอทราบแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างชาติ ศูนย์ป้องกันโรค และสิ่งบรรเทาทุกข์ที่รัฐบาลท้องถิ่นจัดหาให้

          4. สำรองอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโรค อาทิ หน้ากาก ยาฆ่าเชื้อ

          5. หารือ สกญ. อื่น ๆ เกี่ยวกับการช่วยเหลือคนชาติตน

          6. รายงานสถานการณ์ให้กระทรวงฯ ทราบ โดยเฉพาะเมื่อมีคนไทยป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคระบาดอาจตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว นอกพื้นที่

          7. สกญ. พิจารณาให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบภัย โดยอาศัยระเบียบกระทรวงคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ และแจ้งกระทรวงฯ เพื่อพิจารณางบประมาณสนับสนุนหารือ / เสนอกระทรวงฯ ถึงความจำเป็นในการอพยพคนไทยกลับประเทศ (โดยอ้างอิงแผนอพยพฯ กรณีเกิดภัยสงคราม)

 

แผนช่วยเหลือ / อพยพคนไทย

กรณีภัยพิบัติธรรมชาติ (พายุไต้ฝุ่น / น้ำท่วม หรือ แผ่นดินไหว)

 

          1. จัดตั้งศูนย์ติดตามความเคลื่อนไหวของภัยพิบัติ เช่น พายุไต้ฝุ่น น้ำท่วม หรือแผ่นดินไหว

          2. แจ้งเตือนคนไทยผ่านเครือข่ายล่วงหน้าให้ระวังภัย และ ไม่เข้าไปในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบ สถานกงสุลใหญ่ฯ จะประสานกับเครือข่ายและหน่วยงานจีนเป็นระยะๆ เพื่อขอคำแนะนำเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และขอข้อมูลคนไทยที่ประสบภัย หรือ ติดค้างอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมหรือแผ่นดินไหว หรือ ที่กำลังรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

          3. กรณีมีผู้บาดเจ็บที่เกิดจากภัยพิบัติ หรือติดค้างอยู่ในพื้นที่ประสบภัย สถานกงสุลใหญ่ฯ จะประสานขอความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลหรือการอพยพออกจากพื้นที่จากทางการจีนในโอกาสแรก

          4. กรณีที่ผู้ประสบภัยไม่มีที่พักอาศัย สถานกงสุลใหญ่ฯ จะจัดหาที่พักให้ตามสมควร

          5. กรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต สถานกงสุลใหญ่ฯ จะปรึกษากระทรวงฯ ในการนำส่งศพ หรือฌาปนกิจ ต่อไป

          6. กรณีที่มีความรุนแรงมาก ไม่สามารถพำนักในเขตฯ กว่างซี ได้อีกต่อไป จะแจ้งกระทรวงฯ พิจารณาสั่งการอพยพคนไทย (อ้างอิงแผนอพยพฯ กรณีเกิดภัยสงคราม)

 

 

 

 

แผนที่ตั้งสถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง

 

 

ชั้น 1-2 อาคารโอเรียนท์ แมนฮัตตัน เลขที่ 52-1 ถนนจิ่นหู นครหนานหนิง 530022

1stand 2nd Floor.,52-1 Jinhu Road, Nanning, Guangxi 530022 P.R. China
 东方曼哈顿大厦一楼,金湖路52-1号,南宁市,广西壮族自治区530022 中国

 

 

ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของข้าราชการสถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง

และหน่วยงานพาณิชย์

 

 

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง

ชั้น 1-2 อาคารโอเรียนท์ แมนฮัตตัน เลขที่ 52-1 ถนนจิ่นหู นครหนานหนิง 530022

โทร.     (86-771) 552 6942/43/47               โทรสาร    (86-771) 552 6949

เวลาทำการ    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-17.00 น.

 

- แผนกวีซ่าและกงสุล   

โทร. (86-771) 552 6945/46

E-mail: [email protected]

Website:  www.thaiembassy.org/nanning

- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง (BIC)

โทร. (86-771) 5526947 ต่อ 806 และ 808

E-mail: [email protected]

Website:  www.thaibizchina.com

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ นครหนานหนิง

ชั้น 2 อาคารโอเรียนท์ แมนฮัตตัน เลขที่ 52-1 ถนนจิ่นหู นครหนานหนิง 530022

โทร. (86-771) 556 7359

โทรสาร. (86-771) 558 1797

E-mail: [email protected]

 

 

รายชื่อและหมายเลขติดต่อของหน่วยงานของกว่างซีที่จำเป็น

 

 

สำนักงานการต่างประเทศ

1. เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

No.14 Minzhu Rd., Nanning, Guangxi

(南宁市民主路14号)

Tel: 86-771-5623636

2. นครหนานหนิง

No.16-5 Guihua Rd., Nanning, Guangxi

(南宁市青秀区桂花路16-5号)

Tel: 86-771-588 9201

3. เมืองกุ้ยหลิน                  

No.69 Chuangye Buiding, 9F, Xicheng Zhong Rd., Lingui District, Guilin, Guangxi

(桂林市临桂区西城中路69号创业大厦东辅楼9楼)

Tel: 86-773-282 5503

4. เมืองชินโจว

No.22 Xinxing Rd., Qinzhou, Guangxi

(新兴街22)

Tel: 86-777-282 5416

5. เมืองฝางเฉิงก่าง

The Administrative Center, No.148, Beibuwan Avenue, Fangchenggang, Guangxi

(防城港市政务服务中北部湾大道148)

Tel: 86-770-281 8195

6. เมืองเป๋ยไห่

No. 83 Heping Rd., Zhongjie Jiedao, Beihai, Guangxi

(中街街道和平路93号)

Tel: 86-779-202 0412

7. เมืองฉงจั่ว

The Administrative Center, No.1 Xincheng Rd., Chongzuo, Guangxi

(崇左市新城路1号行政中心)

Tel: 86-771-796 8525

8. เมืองอู๋โจว

No.19 Yingbin Rd., Wuzhou, Guangxi

(梧州市迎宾路19号)

Tel: 86-774-602 1870

9. เมืองหลิ่วโจว

No.1 Liuzhou Hotel, Building No.5, Youyi Rd., Liuzhou, Guangxi

(友谊路1号柳州饭店5号楼)

Tel: 86-772-282 2410

10. เมืองไป่เซ่อ

6th F., Zhongyin Building, No.23 Zhongshan 2 Rd., Baise, Guangxi

(中山二路23号中银大厦东楼6层)

Tel: 86-776-282 5850

11. เมืองหลายปิน

The Administrative Center, No.1 Renmin Rd., Laibin, Guangxi

(人民路1号行政中心)

Tel: 86-772-4278023 / 4278007

12. เมืองยวี่หลิน

No.1 Chengdong Building, 3 F., Zone B, YuDong Avenue,  Yulin, Guangxi

(玉林市玉东大道1号城东办公大楼3楼B区)

Tel: 86-775-252 5622

13. เมืองเฮ่อโจว

No.36 Hezhou Avenue, Hezhou, Guangxi

(贺州大道36号)

Tel: 86-774-512 8089

14. เมืองเหอฉือ

No.A88 Xinjian Rd., Hechi, Guangxi

(河池市新建路A88号)

Tel: 86-778-228 8300

15. เมืองกุ้ยก่าง

The Administrative Center, No.888 Hecheng Rd., Guigang, Guangxi

(贵港市荷城888市行政中心)

Tel: 86-775-455 2136 / 455 2111

 

 

ท่าอากาศยานนานาชาติ

          1. นครหนานหนิง         สนามบินนานาชาติอู๋ซวี             +86 (771) 2095160

          2. เมืองกุ้ยหลิน            สนามบินนานาชาติเหลี่ยงเจียง     +86 (773) 2845114

          2. เมืองเป๋ยไห่             สนามบินฝูเฉิง                       +86 (779) 8512770

 

สถานีตำรวจสำคัญในนครหนานหนิง

1. สถานีตำรวจชิงซิ่ง

(青秀公安分局)

No.8 Yinghua Rd., Qingxiu District

Tel: 0771-530 2293

2. สถานีตำรวจซิงหนิง

(兴宁公安分局)

No. 8 Xingdong Rd., Xingning District

Tel: 0771-280 0549

3. สถานีตำรวจเจียงหนาน

(江南公安分局)

No. 1 Gaotang Rd., Jiangnan District

Tel: 0771-48 0317

4. สถานีตำรวจซีเซียงถาง

(西乡塘公安分局)

No. 81 Luban Rd., Xixiangtang District

Tel: 0771-385 3013

5. สถานีตำรวจยงหนิง

(永宁公安分局)

No. 3 Yinfeng Rd., Yongning District

Tel: 0771-472 5469

6. สถานีตำรวจเหลียงชิ่ง

(良庆公安分局)

No. 41 Wuxiangling Rd., Liangqing District

Tel: 0771- 451 2710

7. สถานีตำรวจหนานหู

(南湖公安分局)

No. Zhuxiang Avenue, Qingxiu District

Tel: 0771-552 5277

8. สถานีตำรวจเกาซิน

(高新公安分局)

No. 1 Keyuan Dong Jiu Rd., Xixiangtang District

Tel: 0771-321 1511

9. สถานีตำรวจชิงซิ่วซาน

(青秀山公安分局)

No. 19 QingShan Rd., Qingxiu District

Tel: 0771-211 4870

10. สถานีตำรวจตงเหมิง

(东盟(经济技术开发区)分局)

No.25-1 Gongye Rd., Qiuxiu District

Tel:0771-618 8302

 

     สถานีตำรวจแห่งอื่น สามารถค้นหาตามเว็บไซต์ http://www.nngaj.gov.cn/MapList.aspx  (ภาษาจีน)

                        

โรงพยาบาล

1. โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กว่างซี

แห่งที่ 1 (The First Affiliated Hospital of Guangxi

Medical University)

   广西医科大学第一附属医

   เว็บไซต์ http://www.gxmuyfy.cn/ (ภาษาจีน/อังกฤษ)

สาขาใหญ่

No. 6 Shuangyong Rd., Nanning, Guangxi

Tel: +86(771) 12580-6 และ (771) 114-5

       +86(771) 535 6533 (แผนกฉุกเฉิน)

สาขาซีย่วน (西院)

No. 166 Daxuedong Rd., Nanning, Guangxi

Tel: +86(771) 327 7068

       +86(771) 327 7161 (แผนกฉุกเฉิน)

2. โรงพยาบาลประชาชนแห่งกว่างซี

   The People’s Hospital of Guangxi 

   广西壮族自治区人民医

   เว็บไซต์ http://www.gxhospital.com/ (ภาษาจีน)

สาขาใหญ่

No. 6 Taoyuan Rd., Nanning, Guangxi

Tel: +86(771) 263 5268

       +86(771) 218 6300 (แผนกฉุกเฉิน)

สาขายงอู่ (邕武医院)

No.19 Yongwu Rd., Nanning

Tel: +86(771) 332 0150

       +86(771) 332 5982 (แผนกฉุกเฉิน)

3. โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยเภสัชศาสตร์จีนกว่างซี แห่งที่ 1 (The First Affiliated Hospital of Guangxi  University of Chinese Medicine)

   广西中医药大学第一附属医

    เว็บไซต์ http://www.gxzyy.com.cn/ (ภาษาจีน)

No. 89-9 Dongge Rd., Nanning, Guangxi

Tel: +86(771) 584 8605

 

 

สายด่วน

      114               สอบถามเลขหมายโทรศัพท์

      110               เหตุด่วนเหตุร้าย  ตำรวจ

      119               เกิดไฟไหม้  ดับเพลิง

      120               เรียกรถพยาบาล

      122               เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

 

 

คำแนะนำสำหรับคนไทยในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง

 

 

1. ในสภาวะปกติ

     * สำรวจว่าตนเองและบุคคลในครอบครัวมีบัตรประจำตัว  หนังสือเดินทางครบถ้วน และมีอายุการใช้งานเกิน 6 เดือน

     * เมื่อเดินทางมาถึงเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ขอให้มาลงทะเบียนที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ โดยแจ้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ และช่องทางอื่น ๆ ที่สามารถติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งระยะเวลาที่คาดว่าจะอาศัยอยู่ในประเทศจีน ตามช่องทางต่อไปนี้

 

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง

หมายเลขโทรศัพท์ (+86 771) 552 6945-47

หมายเลขโทรสาร (+86 771) 552 6949

Email : [email protected] ,

[email protected]

Website : www.thaiembassy.org/nanning

 

 

     * มีหมายเลขติดต่อของสถานกงสุลใหญ่ ฯ ติดตัวตลอดเวลา

     * ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุของท้องถิ่น และอินเตอร์เน็ต อย่างสม่ำเสมอ

     * พยายามติดต่อกับเพื่อนคนไทยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสาร

 

2. ในสภาวะที่มีความไม่ปลอดภัย กรณีที่มีสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

     * เตรียมหนังสือเดินทาง บัตรประจำตัว และของใช้จำเป็นไว้ให้พร้อม

     * ติดต่อสถานกงสุลใหญ่ ฯ เพื่อขอข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว หรือติดตามข้อมูลข่าวสารที่เว็ปไซต์ www.thaiembassy.org/nanning

 

จุดรวมตัวหลักของคนไทยที่เขตฯ กว่างซีจ้วง คือ

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง

ตั้งอยู่ที่ ชั้น 1 – 2 อาคาร Orient Manhattan

เลขที่ 52-1 ถนนจินหู นครหนานหนิง 530022

Hotline (+86) 153 0781 3559

 

 

     * ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ และกับกลุ่มคนไทย ให้เพื่อนหรือตัวแทนนักศึกษาไทย ในสถาบันการศึกษา ทราบว่า เราอยู่ที่ไหนและสามารถติดต่อได้อย่างไร

     * สำรองเงินสด อาหาร เครื่องดื่ม ยาประจำตัวและสิ่งที่จำเป็นไว้

     * อยู่แต่ในที่พักอาศัย หลีกเลี่ยงการเดินทางในพื้นที่เสี่ยง รวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ

 

************************************

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง
สถานะ กุมภาพันธ์ 2562